2 ทศวรรษไวรัส I LOVE YOU
ในวันที่อีเมลรักเป็นพิษ
แม้จะผ่านมา 20 ปีแล้ว แต่ LoveBugVirus: I LOVE YOU ยังคงเป็นอีเมลรักสุดอันตรายที่ฝากรอยแผลและสร้างความเสียหายให้กับพลเมืองไซเบอร์มากที่สุดในยุคปี 2000
จากอีเมลหน้าตาธรรมดาๆ และส่งมาจากคนรู้จัก จั่วหัวข้อความ I LOVE YOU พร้อมเนื้อหาเชิญชวนว่า Kindly the attached LOVELETTER coming from me ที่มากับไฟล์แนบชื่อ LOVE-LETTER-FOR-YOU.TXT.vbs ไม่มีเหตุผลที่ใครจะไม่เปิดอ่าน แต่แค่คลิกเดียวที่เหยื่อเปิดดูไฟล์แนบ ไวรัสจะเริ่มโจมตีทันที ด้วยการเขียนทับไฟล์เอกสาร ภาพถ่ายและไฟล์เสียงในเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมกับส่ง User ID และ password ที่มันพบไปให้ Sever ในฟิลิปปินส์ ไม่เพียงเท่านี้ ความร้ายกาจอีกอย่างก็คือมันสามารถแทรกซึมเข้ารายชื่อของอีเมลและส่งจดหมายรักสุดอันตรายนี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ
LoveBugVirus ถูกคิดค้นโดย Onel de Guzman และ Reonel Ramones สองนักศีกษาจาก AMA Computer College ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีจุดประสงค์เพียงเพื่อต้องการขโ威而鋼 มยรหัสเข้าอินเตอร์เนต จากผู้ที่ได้รับอีเมลฉบับนี้และส่งกลับมาให้พวกเขา เนื่องจากอินเตอร์เนตในยุคนั้นมีราคาแพง
จากจุดเริ่มต้นที่ฟิลิปปินส์ ไวรัสได้แพร่กระจายไปยังฮ่องกง ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในเวลาไม่ถึง 10 วัน มีคอมพิวเตอร์กว่า 55 ล้านเครื่องได้รับผลกระทบ ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายเป็นเงินนับพันล้านดอลล่าร์ องค์กรขนาดใหญ่จํานวนมาก ต่างตัดการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เนตเพื่อรักษาระบบ และปิด Mail Server เพื่อที่จะหยุด การแพร่ระบาดของไวรัสนี้
หลังเหตุการณ์ Onel de Guzman และ Reonel Ramones ถูกจับกุมตัว แต่ไม่ได้ถูกดําเนินคดีใดๆ เพราะสมัยนั้น ฟิลิปปินส์ยังไม่มีกฏหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันพวกเขาทํางานในร้านซ่อมโทรศัพท์มือถือ อยู่ที่กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์
20 ปีผ่านไป เราเรียนรู้อะไรบ้าง? ภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่เคยหยุดวิวัฒนาการ และจะยิ่งใกล้ตัวเราขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้ เราเห็นไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ๆ มากกว่า 250,000 ตัว เราเห็น 30,000 เว็บไซต์ใหม่ที่ติดไวรัส โดยประมาณร้อยละ 80 ของเว็บไซต์เหล่านี้ เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลถูกบังคับใช้ อาชญากรคอมพิวเตอร์อาจมุ่งไปที่ข้อมูลส่วนบุคคลที่คุ้มครองโดยกฏหมาย และขู่กรรโชกเงินจากบริษัท เพื่อแลกกับการที่บริษัทไม่ต้องเสี่ยงถูกปรับ ซึ่งการปรับมีโทษสูงสุดถึง 5 ล้านบาท
คําถามก็คือ ถึงเวลาที่เราต้องให้ความสําคัญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์มากขึ้นหรือยัง?
ศักยภาพของระบบคอมพิวเตอร์เราพร้อมรับมือกับการถูกจู่โจมแค่ไหน ?
มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเรามีความเสี่ยงหรือช่องโหว่หรือไม่ ?
ได้เวลาตรวจเช็คว่าภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ขององค์กรคุณแกร่งระดับไหน คลิกที่นี่